รู้จักสมาคม

สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม
Association for University Social Engagement Thailand (EnT)

ศ.ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน

นายกสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม

“ผมอาจจะเป็นคนหนึ่งในจำพวกนั้นที่ชอบทำอะไรใหม่ ๆ ไม่ชอบทำอะไรซ้ำซาก ไม่ชอบทำอะไรที่อยู่ในเป้าหมายเดิมตลอดเวลา แต่ไม่ถึงขั้นสุดโต่ง เมื่อเราคิดถึงว่าเราพบปัญหา ถ้าไม่ใช้วิธีการไหม่ ๆ แก้ จะแก้ไม่ได้เลย ทำให้ต้องคิดต่อ และวิธีใหม่ ๆ ที่จะมาช่วยแก้ปัญหา ที่จะช่วยให้เราทำอะไรได้ ควรจะเป็นอะไร…”

เราต้องแยกระหว่าง Inventor กับ innovator กล่าวคือ inventor คือสร้างอะไรใหม่ ๆ เป็นคนแรก แต่ innovator อาจเอาของที่มีอยู่แล้วเกิดขึ้นแล้วมาปรุงแต่งให้ใช้การได้ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งในบริบทใดบริบทหนึ่ง ผมจึงมองตัวผมเองว่าเป็น innovator มากกว่า inventor

กรรมการบริหาร

สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม
Association for University Social Engagement Thailand (EnT)

ศ.นพ.ดร. นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล

อุปนายก

รศ.ดร. อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ

อุปนายก

รศ.ดร. สมชาย สันติวัฒนกุล

กรรมการที่ปรึกษา

รศ.ดร. มานิตย์ จุมปา

กรรมการที่ปรึกษา

ดร. มัลลิกา สังข์สนิท

กรรมการที่ปรึกษา

ศ.ดร. อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง

กรรมการที่ปรึกษา

รศ.ดร. ชลวิทย์ เจียรจิตต์

เลขาธิการ

คณะกรรมการ

การแต่งตั้งคณะกรรมการสมาคมพันธิกจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม
จำนวน 21 ท่าน ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 

สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม หรือ สพมส.

Association for University Social Engagement Thailand (EnT)

วิสัยทัศน์

“มหาวิทยาลัยเป็นพันธมิตร (partner) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) อย่างแท้จริงของชุมชนและสังคม”

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานต่างๆ ในสังคมและนานาชาติ เพื่อร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมได้รับประโยชน์ และเกิดผลกระทบที่ดีต่อสังคม ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็งในมหาวิทยาลัย ในการขับเคลื่อนพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมและเกิดการบูรณาการของทุกพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในการทำงานเพื่อสังคม เพื่อส่งเสริมการพัฒนากำลังคนในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอกที่มีอุดมการ ความรู้ และทักษะในการทำงานวิชาการเพื่อสังคมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 

เป้าหมาย

  • เพื่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็งในมหาวิทยาลัย ในการขับเคลื่อนพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม และเกิดการบูรณาการของทุกพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในการทำงานเพื่อสังคม
  • เพื่อให้มีการพัฒนากำลังคนในมหาวิทยาลัยที่มีอุดมการณ์ ความรู้ และทักษะในการทำงานวิชาการเพื่อสังคม อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  • เพื่อให้เกิดการยกระดับงานวิชาการจากผลงานเพื่อสังคม และเกิดการพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพงานวิชาการเพื่อสังคม เพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพของบุคลากร
  • เพื่อสร้างชื่อเสียงและการยอมรับของมหาวิทยาลัยไทยในด้านพันธกิจต่อสังคม ในวงการอุดมศึกษานานาชาติ

เครื่องหมายสมาคม

รูปเกลียวสัมพันธ์ ประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีฟ้า และสีเทา

 

ปี 2562

สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม หรือ EnT ได้เปลี่ยนสถานภาพทางกฎหมายจากเครือข่ายการดำเนินงานแบบนำร่อง มาเป็น สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามความต้องการของสมาชิก ทั้งนี้สมาคมฯ จะดำเนินการเพื่อเป็นหน่วยประสานงานและเชื่อมประสาน (facilitator / coordinator) ระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และรัฐบาล ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัย / ภาคีอื่นๆ ของประเทศไทยให้สามารถทำงานด้านมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ได้ดี มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประเทศไทย 4.0

สมาคม EnT หรือ เครือข่าย Engagement Thailand เดิม ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การกำหนดนิยาม / หลักการของการทำงานมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม การรวบรวมกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างของการทำงานมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม การส่งเสริมนักวิชาการในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้านมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม ตลอดจน การสร้างเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสังคมผ่านการจัดประชุมทางวิชาการประจำปีทุกปี เป็นต้น

แนวคิดของพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) เป็นจุดเปลี่ยน (transition) ของการทำงานกับสังคมของมหาวิทยาลัย ซึ่งเดิมดำเนินการอยู่ในรูปแบบของงานบริการวิชาการ (service) และงานอาสาสมัคร (volunteering) เป็นหลัก ไปสู่การทำงานร่วม (engagement) กับภาคีในพื้นที่ในลักษณะเชิงสถาบัน ที่เป็นหุ้นส่วนระยะยาว (long-term partnership) และหวังที่จะให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) อย่างแท้จริงของชุมชนหรือสังคมในพื้นที่ พันธกิจนี้จะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างภารกิจหลักทุกภารกิจของมหาวิทยาลัย อาทิ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เข้าด้วยกันอย่างมียุทธศาสตร์และเป็นระบบ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งในระหว่างมหาวิทยาลัยด้วยกันเอง และระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

จากความสำคัญของพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมดังกล่าว หลายหน่วยงานจึงร่วมกันจัดตั้งสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่กลางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานวิชาการเพื่อสังคม การพัฒนาระบบบริหารจัดการ ตลอดจนเป็นจุดประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยที่สนใจพันธกิจเพื่อสังคม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การทำงานเชิงวิชาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมในพันธกิจหลักทุกด้านของมหาวิทยาลัย บนหลักการพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่

  • ร่วมคิดร่วมทำแบบพันธมิตรและหุ้นส่วน (partnership)
  • เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (mutual benefits)
  • เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดผลงานวิชาการ (knowledge sharing and scholarship)
  • เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (measurable social impact)
  • มหาวิทยาลัยรับรู้และยอมรับคุณค่า (values) วัฒนธรรม (culture) ความรู้และทักษะ (knowledge and skills) ของสังคม และทำงานที่เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายร่วมกัน
  • มหาวิทยาลัยต้องกำหนดเรื่องพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมไว้ในระบบกำกับดูแล นโยบายและแผนการดำเนินการ งบประมาณ หลักสูตร รวมถึงวิถีชีวิตในมหาวิทยาลัย
  • ในการทำวิจัยร่วมกันนั้น ต้องร่วมกันพัฒนาโจทย์และวิธีการที่ครอบคลุมทั้งในเชิงวิชาการและประเด็นของสังคม
  • ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนนั้น ต้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายในการเรียนรู้ของนักศึกษา และต้องสอดคล้องกับความต้องการของสังคม
  • มหาวิทยาลัยและสังคมทำงานร่วมกันในการติดตามความร่วมมือ วัดผลกระทบ ประเมินผลลัพธ์ และปรับปรุง / พัฒนากิจกรรมที่ทำร่วมกัน
  • เป้าหมายสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้น และสร้าง engaged citizens ซึ่งรวมถึงนักศึกษา บัณฑิต และบุคลากรของมหาวิทยาลัย
    ทั้งนี้ สังคม หมายรวมถึง กลุ่มบุคคลที่อาจเชื่อมโยงกับชุมชนทั้งในมิติของพื้นที่ ความสนใจร่วมกัน อัตลักษณ์ สถานที่ทำงาน ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ หรืออยู่ในภาคส่วนเดียวกัน ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนที่มีความสนใจร่วมกัน โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในเชิงพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจอุตสาหกรรม สมาคมวิชาชีพ โรงเรียน รัฐบาล ศิษย์เก่า และชุมชนพื้นเมือง เป็นต้น
  • เกิดประโยชน์ทั้งแก่มหาวิทยาลัยและสังคม ทั้งในด้านการพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาคุณภาพบัณฑิต การพัฒนากำลังคน การสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการทำงานร่วมกับชุมชน / สังคม เพื่อร่วมสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้เกิดแก่สังคมอย่างเป็นระบบและมียุทธศาสตร์
  • เกิดระบบการบริหารจัดการแบบใหม่ในมหาวิทยาลัยที่มีการบูรณาการทรัพยากรทุกประเภทมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
  • เกิดความเข้มแข็งและก้าวหน้าทางอาชีพแก่บุคลากรทุกประเภทของมหาวิทยาลัย เช่น ในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการหรือชำนาญการ
  • ได้รวมพลังกับมหาวิทยาลัย ชุมชนและภาคีอื่นๆ ในการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าในพันธกิจมหาวิทยาลัยกับสังคมของประเทศไทย มีโอกาสสร้างและใช้ความรู้ตลอดจนผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความเจริญก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย ของสังคม และของประเทศชาติในภาพรวม
  • มีโอกาสในการพัฒนาความเข้มแข็งของระบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยด้านการทำงานเพื่อสังคม ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพิ่มคุณค่าแก่มหาวิทยาลัยและสังคม
  • มหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นด้านการทำงานเพื่อสังคม และสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคม มีโอกาสสูงในการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศรวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง
  • บุคคลากรของมหาวิทยาลัยมีโอกาสก้าวหน้าในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้านมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
  • สมาชิก EnT สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก ทั้งในระดับนโยบาย การให้ทุน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

จุดประกาย EnT

ความเป็นมาของพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (Engagement Thailand : EnT)

“แนวคิดในการก่อตั้ง พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (Engagement Thailand: EnT) เกิดขึ้นหลังจากการที่ สถาบันคลังสมองของชาติ ได้จัดกิจกรรมพาผู้แทนจาก 10 มหาวิทยาลัย/หน่วยงาน รวม 13 ท่าน (เช่น ศ.ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน ศ.ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง ศ.นพ.ดร. นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รศ.นพ. อำนาจ อยู่สุข และ ดร. สีลาภรณ์ บัวสาย) ไปเข้าร่วมประชุม 2013 Engagement Australia และศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศออสเตรเลีย เมื่อกรกฎาคม 2556”

Engagement Australia

ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้บริหารที่ร่วมเดินทางได้รับทราบความรู้ แนวคิด หลักการ วิธีปฏิบัติที่ดี ตลอดจนประสบการณ์จากการศึกษาดูงานและการเข้าร่วมประชุม 2013 Engagement Australia แล้ว ผู้ร่วมเดินทาง (รศ.นพ. อำนาจ อยู่สุข) ยังเกิดแรงบันดาลใจและเสนอให้มีการจัดตั้งเครือข่ายในลักษณะเดียวกับ Engagement Australia ขึ้นในประเทศไทย

วันเปิดตัว EnT

Start EnT

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม 2557 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ณ ห้องแซพไฟร์ 111 อิมแพ็คฟอรั่ม 1 ณนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

  • ทำไมต้องมี “Engagement Thailand (EnT)” ?
  • ประสบการณ์จาก Engagement Australia
  • บทความวิชาการและการพัฒนาความรู้ Engagement Australia
  • การประชุมเครือข่าย Engagement Thailand ครั้งที่ 1
Scroll to Top